วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บริษัท ชอเฮง โรงเส้นหมี่ จำกัด โดยท่านวิทยากร คุณไกรสินธุ์ วงศ์สุรไกล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้กับธุรกิจชอเฮง (23 / 11 / 56)
ประวัติท่านวิทยากร คุณไกรสินธุ์ วงศ์สุรไกร
     รองประธานคณะ AEC Prompt สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     รองประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     กรรมการ และรองเลขาธิการ สภาธุรกิจไทย - จีน
     ประธานกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ไทย - อาเซียน - จีน

รู้เขา รู้เรา ลบร้อยครั้ง ก็ไม่แพ้ If you know yourself and your enemy, you'll never lose a battle
ต้องรู้ว่าตัวเราเองมีอะไรที่อ่อนแอ เราจะได้ปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง และต้องรู้จักคู่แข่งเป็นอย่างดีจะทำให้เราได้เปรียบจะลบกี่ครั้งก็ไม่แพ้

ความเคลื่อนไหนในภูมิภาค จะเห็นได้ว่าจะมีหลาย ๆ ประเทศที่ต่อต้านจีน จากการประชุมอาเซียนจะมีหลาย ๆ ประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับจีน เช่น ฟิลิปปินส์ที่มีปัญหากับจีน และยังมีปัญหากับไตหวันในเรื่องการแบ่งดินแดน เกาะ A Spratley island นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องผู้นำหญิงในประเทศพม่านางอองซานซูจี และประเด็นที่ผู้นำไปประเทศไทยมีความสนิดสนมกับผู้นำประเทศกัมพูชา

TPP = Trans Pacific Partnership ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP)
ก่อตั้งโดยสหรัฐอเมริกา เป็นการสร้างกรอบการค้าธุรกิจแปรซิฟิกส์อาเซียน อาทิเช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม ไทย ซึ่งได้รับการเชิญเป็นสมาชิกด้วย

ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย พม่า ตามลำดับ ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์มีความต้องการข้าวมากที่สุดเนื่องจากมีจำนวนประชากรมาก และประสบปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมจึงมีความต้องการข้าวสูง

ประเทศที่น่าลงทุนในอาเซียนในความคิดของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทโตโยต้า มอร์เตอร์ ประเทศไทย จำกัด อันดับหนึ่งคือประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากและมีความมั่นคงทางการเมือง อันดับสองคือประเทศเวียดนาม และประเทศไทยเป็นอันดับที่สามสาเหตุที่ไทยไม่ได้เป็นอันดับหนึ่งและสองนั้นเนื่องมาจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ปัญหาการคอรัปชั่น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ฯลฯ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้นักลงทุนชาวต่างชาติไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

ต้องรู้จักใช้ประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรภายใต้ข้อตกลง (AHTN) ต้องขอรับสิทธิ์ในการเสียภาษีเป็นศูนย์ ต้องไปกรอง Form D และยื่นขอใบรับรองแหล่งกำเนินสินค้า (ATIGA Form) เพื่อเป็นการขอรับสิทธิในการเสียภาษีเป็นศูนย์ เป็นการขึ้นทะเบียนสินค้าที่จะส่งออก และทำให้สินค้าไปแข่งกับประเทศอื่น ๆ ได้ด้วย

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาพลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)
ก่อตั้งในปี พ.ศ.2535 มีประเทศสมาชิก 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย ลาว เมียงม่าร์ กัมพูชา เวียดนาม  จีน-กว่างซี และจีน-หยุนหนานา

จุดข้ามแดน 8 ด่านศุลกากรสำคัญ (พ.ศ.2554)
สะเดา อรัญประเทศ มุกดาหาร หนองคาย แม่สาย เชียงของ แม่สอด ประดังเบซาร์ ส่วนด่านอื่น ๆ นั้นก็เป็นความหวังว่าในอนาคตจะใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
การค้าชายแดนของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2555 มูลค่าการค้าชายแดนในปี 2555 สูงถึง 910,500 ล้านบาท ซึ่งไทยได้ทำการค้าขายกับประเทศมาเลเซียมากถึง 58% ลาว 19%  เมียนม่าร์ 14% และกัมพูชา 9% ตามลำดับ การค้ากับสมาชิกอาเซียนประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าสูงกว่าประเทศสมาชิกอื่น ๆ  สัดส่วนวิธีการขนส่งสินค้าของไทยในปี 2555 ใช้การขนส่งทางถนนมากถึง 86% ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขัน มีความพร้อมในด้านการขนส่งมากที่สุด คือ ประเทศสิงค์โปร์

สินค้าที่จะส่งเข้าประเทศจีนต้องผ่านด่านการตรวจอย่างเข้มงวด แต่เมื่อผ่านเข้าไปแล้วจะได้รับความนิยมซื้ออย่างมากเนื่องจากได้ผ่านการตรวจอย่างเข้มงวดแล้ว เพราะสินค้าในประเทศจีนเองนั้นไม่มีคุณภาพ

บริษัท ชอเฮง โรงเส้นหมี่ จำกัด  ตั้งอยู่ใน อ.สามพราน จ.นครปฐม นำวัตถุดิบจากข้าวมาแปรรูป เดิมผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่ในปัจจุบันมีการวิจัยพัฒนา ทำให้มีการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น เช่น แป้ข้าวเจ้า แป้ทาตัว ฯลฯ ที่แปลรูปมาการข้าว การบริหารจัดการที่ยากที่สุดคือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจชอเฮงมีการใช้พลังงานโซล่าเซลเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และมีห้องประชุมขนาดใหญ่ 1,000 คน เพื่อบริการแก่ชุมชนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ชอเฮงมีแรงงานพม่ากว่า 80 คน ได้ค่าจ้างวันละ 300 บาทขั้นต่ำ แรงงานไทยม่ค่อยมีมาสมัครจึงต้องพึ่งแรงงานต่าวด้าวที่ถูกกฎหมาย

RCEP ย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือภาษาไทย คือ “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน” หมายถึงข้อริเริ่มของอาเซียนในการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยการจัดทำความตกลงการค้าเสรีร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยเริ่มแรกมีเป้าหมายจะจัดทำความตกลงดังกล่าวกับประเทศภาคีFTAs ปัจจุบันของอาเซียน หรือ ASEAN+6 (คือ ASEAN และ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย) ที่สนใจเข้าร่วมก่อน ส่วนประเทศอื่นๆ จะสามารถเข้าร่วมได้ภายหลังจากที่การเจรจา RCEP เสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้อาเซียนคาดว่าจะสามารถประกาศเริ่มการเจรจา RCEP ได้ภายใน ปลายปี2555 หรือไม่เกินต้นปี2556

ข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของชอเฮง ข้าวที่ติดอันดับว่าเป็นข้าวที่อร่อยที่สุด คือ ประเทศเวียดนาม แต่ในปีที่ผ่านมาเป็นของประเทศกัมพูชาซึ่งประกวดได้อันดับ 1 สองปีซ้อน เป็นข้าวที่อร่อยที่สุดในโลก ประเทศที่ผลิตข้าวและได้ผลผลิตเป็นอันดับหนึ่ง คือเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว และไทยตามลำดับ จะสังเกตได้ว่าไทยมีเกษตรกรที่ปลูกข้าวมากแต่ได้ผลผลิตน้อย
ราคาข้าว ข้าวหอมมะลิบริสุทธ์ 92% มีราคา 1050-1060 เวียดนาม 585-595 จะเห็นได้ว่าขาวไทยมีราคาสูงกว่าเท่าตัวของราคาข้าวหอมมะลิเวียดนาม
ข้าวนึ่ง คือข้าวเปลือกที่มีปริมาณความชื้นสูง หลังจากนั้นนำไปนึ่งให้สุก แล้วจึงลดความชื้น ก่อนที่จะขัดสีเอาเปลือกและรำออก ข้าวนึ่งที่ผลิตได้แบ่งตลาดได้ตามสี คือ ข้าวนึ่งสีเข้ม และสีอ่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และความชำนาญของผู้คุมเครื่องจักร โดยข้าวนึ่งสีเข้มเป็นที่ต้องการของตลาด และมีราคาอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าข้าวนึ่งสีอ่อน ไทยนับเป็นประเทศส่งออกข้าวนึ่งที่สำคัญของโลก ในปัจจุบันข้าวนึ่งที่ผลิตได้นั้นพึ่งพิงการส่งออกทั้งหมด โดยตลาดส่งออกสำคัญ คือประเทศต่างๆในแอฟริกา และตะวันออกกลาง รวมทั้งตลาดข้าวนึ่งคุณภาพสูงในสหรัฐฯและยุโรป

สิ่งที่กำลังเปลี่ยนปลงใน ASENA
1.ภาษีศุลกากร 2.พื้นที่ตลาด 3.การแข่งขัน 4.มาตรการทางการค้า 5.การลงทุน 6.เงินทุนเคลื่อนย้าย 7.การเคลื่อนย้ายแรงงงานฝีมือ 

มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี
การทุ่มตลาด การอุดหนุน ถิ่นกำเนินสินค้า การประเมินราคา มาตรการปกป้อง การออกใบอนุญาตนำเข้า
มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการค้า การบริหารโควต้าภาษี การปิดฉลาก ฯลฯ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในสายตานกลงทุน นักธุรกิจทั้งภายในและต่างประเทศ ไทยไม่ได่เป็นดาวจรัสแสงอีกต่อไป ปัญหาทางการเมือง ความขัดแยังในประเทศ ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ความสามารถในการสื่อสาร ฯลฯ กำลังบดบังศักยภาพสำคัญของประเทศไทยเพิ่มขึ้น

ประเทศจีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ประเทศจีนเป็นประเทศที่น่าเข้าไปลงทุนทำธุรกิจ การทำธุรกิจในประเทศจีนต้องทำการศึกษาถึงขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมในประเทศจีนเพราะจีนเป็นประเทศที่เคร่งครัดในวัฒนธรรม ซึ่งท่านวิทยากรก็ได้สอนถึงขนบธรรมเนียนในประเทศจีนให้พวกเราฟังด้วย

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Product Model สมบูรณ์

จากการที่ได้รับมอบหมายให้สรุปเรื่อง Product Model จากหนังสือ Marketing Model มีดังนี้

คำจำกัดความผลิตภัณฑ์     ผลิตภัณฑ์คือ สิ่งใด ๆ ที่นำเสนอสู่ตลาดเพื่อให้เกิดความสนใจ เพื่อให้จับจองเป็นเจ้าของ หรือเพื่อใช้บริโภคซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการหรือความจำเป็นได้ ผลิตภัณฑ์มิได้หมายรวมถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ผลิตภัณฑ์ยังรวมถึงการบริการ สถานที่ บุคคล องค์กร ความคิด

เกณฑ์การจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์
1. เกณฑ์อายุใช้งาน
    ผลิตภัณฑ์คงทน (Durable goods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานนาน ผู้บริโภคจึงมักต้องการบริการเพิ่มเติม เช่น การรับประกันสินค้า เป็นต้น
    ผลิตภัณฑ์ไม่คงทน (nondurable goods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น ต้องซื้อบ่อย ๆ
2. เกณฑ์ทางกายภาพ
    ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible goods) อาจจะเป็นสินค้าที่คงทนหรือไม่คงทนก็ได้
    ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible goods) ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ต้องการการควบคุมคุณภาพเป็นพิเศษ และต้องสร้างความเชื่อถือต่อกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
3. เกณฑ์ทางกายภาพ
   ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial goods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ซื้อเพื่อนำไปผลิตต่อ ประกอบด้วย (1) วัตถุดิบ (Materials) หมายถึง วัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบในกระบวนการผลิต
(2) สินค้าคงทน (Capitalism) เป็นสินค้าคงทน (3) อยู่ในส่วนของการผลิต เช่น ตัวอาคาร โรงงาน อุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น (4) อะไหล่และบริการเสริม (Supplied and services) เป็นวัสดุสำนักงานที่มีอายุการใช้งานสั้น และบริการ เพื่อให้การผลิตดำเนินต่อไปได้ เช่น การดูแลรักษา ซ่อมแซมอุปกรณ์ ฯลฯ
   ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (Consumer goods) ผู้ซื้อซื้อผลิตภัณฑ์ไปเพื่อบริโภค / ใช้เอง แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ (1) สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience goods) เป็นสินค้าที่ใช้บ่อย ราคาไม่แพง จึงไม่ต้องใช้ความพยายามมากในการซื้อ (2) สินค้าเลือกซื้อ (Shopping goods) เป็นสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการเลือกสรรก่อนซื้อ จึงมักเปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ ราคาและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อ (3) สินค้าเจาะจงซื้อ (Specialty goods) เป็นสินค้าเฉพาะอย่างที่ผู้บริโภคเจาะจงซื้อ เช่น ยี่ห้อนี้ คุณสมบัติอย่างนี้ เป็นต้น (4) สินค้าไม่อยากซื้อ (Unsought goods) เป็นสินค้าที่มีผู้บริโภคไม่รู้จัก และไม่คิดที่จะซื้อจนกระทั่งได้รู้จักและเห็นโฆษณา เช่น พจนานุกรม ประกันชีวิต      

ระดับผลิตภัณฑ์ Three levels of Product หมายถึง สิ่งที่นำเสนอแก่ตลาดเพื่อให้เกิดความสนใจ การซื้อ การใช้ หรือการบริโภคซึ่งสามารถตอบสนองความจำเป็นและความต้องการได้ ประกอบด้วย
1. ผลิตภัณฑ์หลัก Core customer value คือ ประโยชน์พื้นฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการซื้อสินค้านั้นโดยตรง
2. รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ Actual product คือ ลักษณะทางกายภาพที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้ สามารถสัมผัสได้ ซึ่งเป็นส่วนเสริมผลิตภัณฑ์ให้ทำหน้าที่สมบูรณ์ขึ้นหรือเชิญชวนให้ใช้ยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
      2.1 ระดับของคุณภาพ (quality level)
      2.2 รูปร่างลักษณะ (features)
      2.3 การออกแบบ (design)
      2.4 บรรจุภัณฑ์ (packaging)
      2.5 ชื่อตราสินค้า (brand name)
3. ผลิตภัณฑ์ควบ Augmented product คือ ผลประโยชน์เพิ่มเติม หรือบริการที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่ไปกับการซื้อสินค้านั้น ๆ ตัวอย่างเช่น
      4.1 การให้บริการติดตั้ง (installation)
      4.2 การขนส่ง (transportation)
      4.3 การรับประกัน (insurance)
      4.4 การให้สินเชื่อ (credit)

การออกแบบผลิตภัณฑ์ Product Design
     เมื่อนักออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงนักการตลาดได้สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้ว พวกเขาจะต้องกำหนดประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า หลังจากนั้นจึงออกแบบผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงขึ้นมา รวมทั้งต้องค้นหาวิธีเสนอผลิตภัณฑ์ควบด้วย เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ในที่สุด

การตัดสินใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ Product strategy decisions
1. การตัดสินใจในระดับตัวผลิตภัณฑ์ (Individual product decisions) โดยเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
    1.1 คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ (Product and service attributes) การพัฒนาสินค้าและบริการเกี่ยวข้องกับ การนำเสนอประโยชน์ขอตัวสินค้านั้นให้แก่ลูกค้า ประโยชน์เหล่านั้นจะถูกสื่อสารและส่งมอบไปสู่ลูกค้าโดยผ่าน 1) คุณภาพซึ่งเป็นเครื่องวัดความพึงพอใจของลูกค้าในเรื่องสินค้าที่ดีที่สุด เนื่องจากคุณภาพมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับคุณค่าและความพึงพอใจที่จะเกิดขึ้นในใจลูกค้า หากพิจารณาในมุมมองที่แคบที่สุด คุณภาพ คือ สินค้าที่ไม่มีข้อบกพร่องหรือไม่มีตำหนินั้นเอง 2) คุณลักษณะ สินค้าสามารถนำเสนอคุณลักษณะประโยชน์ใช้สอยของสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ โดยกำหนดให้มีลักษณะปรโยชน์ใช้สอยทั่วไป จึงถึงการทำงานที่สลับซับซ้อน คุณลักษณะประโยชน์ใช้สอยนี้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความแตกต่างระหว่างสินค้าของเรากับคู่แข่ง นับว่าเป็นเครื่องมือที่สร้างความสำเร็จได้ดียิ่ง 3) รูปแบบและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ธุรกิจสามารถสร้างคุณค้่าเพิ่มให้กับลูกค้าของตนได้ด้วย รูปแบบและการออกแบบสินค้า รูปแบบอาจเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจ ดึงดูดลูกค้า หากแต่ว่าว่ารูปแบบที่ดึงดูดนั้น ไม่ได้หมายความว่าสินค้านั้นจะมีการทำงานที่ดีขึ้นซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายของการออกแบบ การออกแบบจะมีความหมายที่กว้างกว่า คือ การออกแบบที่ดีจะให้ประโยชน์แก่ลูกค้า ทั้งในแง่ของปรโยชน์การใช้งานที่ดี รวมถึงรูปแบบที่สวยงามถูกใจไปพร้อม ๆ กัน
     1.2 ตราสินค้า (Branding) อาจจะกล่าวได้ว่าความแตกต่างระหว่างนักการตลาดธรรมดา กับนักการตลาดมืออาชีพ คือความสามารถในการสร้างสรรค์และจัดการเรื่องตราสินค้า ในมุมมองผู้ผลิตหรือผู้ขาย ตราสินค้า คือ ชื่อ สัญลักษณ์ การออกแบบ หรือองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นรวมกัน ในมุมมองของผู้บริโภค ตราสินค้า คือ คุณค่าที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ  ตราสิต้ากลายเป็นพลังที่เข้มแข็งสำหรับนักการตลาด สินค้าน้อยรายในปัจจับันที่จะไม่ให้ความสำคัญในตราสินค้า
     1.3 บรรจุภัณฑ์ (Packaging) แต่เดิมหีบห่อบรรจุภัณฑ์ใช้เพื่อปกป้อง หรือบรรจุผลิตภัณฑ์ หากแต่ในปัจจับนมีปัจจัยมากมายที่ผลักดันให้บรรจุภัณฑ์ทวีความสำคัญมากขึ้น จนกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญเช่นกัน การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งทั้งในด้านของจำนวนการแข่งขันที่รุนแรง อีกทั้งแรงผลักดันในเรื่องของขนาดและจำนวน หรือลักษณะของชั้นวางของในห้างสรรถสินค้า ล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดการพัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยงานขายมากขึ้น ตั้งแต่การกระตุ้นความสนใจจากลูกค้า การอธิบายสินค้า หรือการทั่งความสะดวกในการขาย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดีจะสรางความยุ่งยากแก่ผู้บริโภค และทำให้เสียโอกาสขายสินค้าแก่ผู้บริโภค ในทางตรงกันข้า การออกแบบที่จะจะทำให้เกิดประโยชน์เหนือคู่แข่งและเพิ่มปริมาณการขายได้ ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์เพียงเล็กน้อย ทำให้ยอดขายเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
     1.4 ฉลาก (Labeling) คือ การติดสาระเพื่อแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าที่ต้องการสื่อสารกับผู้ซื้อ เช่น เครื่องหมายการค้า รหัสแท่ง (Bar Code) ส่วนประกอบ วิธีใช้ ราคา ขนาดการใช้ ข้อห้าม เครื่องหมายรับรองคุณภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ
     1.5 บริการเสริมและบริการหลักการขาย (Product support services) บริการเสริมและบริการหลักการขายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ลูกค้ามักต้องการหลักซื้อสินค้า ดั้งนั้นบริษัททั่วไป จึงมักจะเสนอบริการบางประการผนวกไปกับสินค้าถึงแม้ว่าบริการเสริมเหล่านั้นจะเป็นบริการเสริมเล็กน้อย หรือบริการที่สำคัญก็ตาม

2. การตัดสินใจในระดับสายผลิตภัณฑ์ (Product line decisions) นอกเหนือจากการจัดการในผลิตภัณฑ์หรือบริการในแต่ละรายการแล้วยังมีสิ่งที่นักการตลาดต้องใส่ใจในเชิงกลยุทธ์อีกแง่มุมหนึ่งคือ กานสร้ายสายผลิตภัณฑ์ สายผลิตภัณฑ์หมายถึง กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวโยงในเรื่องของรูปแบบการใช้งาน การขายไปยังลูกค้ากลุ่มเดียวกัน หรือการขายไปในช่องทางการจำหน่ายเดียวกัน หรือแม้กระทั่งขายในระดับราคาใกล้เคียงกัน การตัดสินใจที่สำคัญในสายผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งคือ เรื่องความยาวของสายผลิตภัณฑ์ได้แก่ จำนวนรายการสินค้าที่อยู่ในสายผลิตภัณฑ์ หากผลิตภัณฑ์สั้นเกินไปธุรกิจสามารถหากำไรได้เพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มรายการสินค้าเข้าไปในสายผลิตภัณฑ์ ตรงกันข้ามสายผลิตภัณฑ์หากยายเกินไป ธุรกิจสามารถหากำไรได้เพิ่มขึ้น โดยลดรายการสินค้าบางรายการออกจากผลิตภัณฑ์ นักการตลาดจำเป็นต้องวิเคราะห์สายผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่ารายการสินค้าใดก่อให้เกิดผลในทิศทางใดต่อผลประกอบการโดยรวมของธุรกิจ

3. การตัดสินใจในระดับส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Prduct mix decisions) หมายถึง กลุ่มของผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้นที่บริษัทนาเสนอสู่ตลาดเพื่อขาย โดยมีจานวนของสายผลิตภัณฑ์ (product lines) หน่วยของผลิตภัณฑ์ (product items) และจานวนรุ่นในแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่บริษัทตัดสินใจเกี่ยวกับส่วนประสมผลิตภัณฑ์ดังนี้
     3.1 ความกว้างของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (product width) หมายถึง จานวนของสายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งมีไว้เพื่อขายให้แก่ผู้ซื้อ เช่น ผลิตภัณฑ์ของดัชมิลล์ มีผลิตภัณฑ์ไว้จาหน่ายสี่สายคือ โยเกิร์ต ทูโทน นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งพลาสเจอร์ไรส์ จึงเรียกว่าบริษัทนี้มีความกว้างของส่วนประสมผลิตภัณฑ์เท่ากับ 3
     3.2 ความลึกของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (product line depth) หมายถึง จานวนผลิตภัณฑ์ ที่มีอยู่ในสายผลิตภัณฑ์แต่ละสาย เช่น สี ขนาด รูปแบบหรือคุณสมบัติอื่น ๆ ตัวอย่าง สาบผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวของดัชมิลล์ มีรายการผลิตภัณฑ์อยู่ 3 รายการ นั่นคือ นมเปรี้ยวรสส้ม รสผลไม้รวม ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้มีความลึกเท่ากับ 3
     3.3 ความยาวของสายผลิตภัณฑ์ (product line length) หมายถึง จานวนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทที่มีเสนอขายให้กับลูกค้า เกิดจากการรวมตัวกันของความลึกของแต่ละสายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง ดัชมิลล์ มีผลิตภัณฑ์ไว้จาหน่าย 14 รายการ จึงเรียกว่าบริษัทนี้มีความยาวของส่วนประสมผลิตภัณฑ์เท่ากับ 14
     3.4 ความสอดคล้อง (product consistency) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสายผลิตภัณฑ์ในด้านการใช้ขั้นสุดท้าย การผลิต การจัดจาหน่าย หรือลักษณะของสินค้าด้าน อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ของดัชมิลล์จะมีความสอดคล้องเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ใกล้เคียวกัน มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน และใช้ช่องทางการจัดจาหน่ายเดียวกันนั่นเอง


















การบริการ (Service Marketing)

ผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งใด ๆ ที่นำเสนอสู่ตลาดเพื่อให้เกิดความสนใจ เพื่อให้จับจองเป็นเจ้าของ หรือเพื่อใช้บริโภคซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการหรือความจำเป็นได้ ผลิตภัณฑ์มิได้หมายรวมถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ผลิตภัณฑ์ยังรวมถึงการบริการ สถานที่ บุคคล องค์กร ความคิด

การแบ่งประเภทของสินค้า/บริการ
-แบ่งตามความทนทานหรือจับต้องได้ : ซื้อบ่อยๆ, นานๆซื้อครั้งนึง
-แบ่งตามการใช้งานของผู้บริโภคหรืออุตสาหกรรมการผลิต : สินค้าหรือบริการที่ใช้บ่อย, สินค้าเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต, สินค้าแบรนด์

รูปแบบการตัดสินใจในผลิตภัณฑ์มีดังนี้
Perceptual mapping : การหาความคิดของลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
Preference choice models : การหาตัวเลือกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ

กลยุทธ์ทางการตลาด (พี่เปิ้ล)

     กลยุทธ์การตลาด หมายถึง การสร้างและการกำหนดรูปแบบของเทคนิคต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาด้านราคา ( Price ) , ทั้งด้านที่ตั้ง ( Place ) , ทางด้านการส่งเสริมการขาย ( Promotion ) , และทางด้านการผลิตภัณฑ์ ( Product ) ทั้งนี้เพื่อทำให้ผลการดำเนินการขององค์การธุรกิจมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ตามเป้าหมายที่องค์การธุรกิจได้กำหนดไว้
กลยุทธ์การตลาด
     กลยุทธ์การตลาดขึ้นอยู่กับการกำหนดของตลาด และการวิเคราะห์โครงสร้าง
     กลยุทธ์การตลาดถูกกำหนดผ่านชุดของผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนในการใช้งานในส่วนที่เป็นประโยชน์ที่คล้ายกัน



IMS / MDSS ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  IMS / MDSS
แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. intervention วางแผนการดำเนินการ
2. Implementation เป็นขั้นตอนในการดำเนินการ
3. Impovement การปรับปรุงจะใช้เมื่อผลจากการตัดสินใจไม่ตรงตามเป้าหมายก็ต้องมีการปรับปรุง

ปัจจัยหลักในการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ
1. การสนับสนุนด้านการจัดการ
2. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้
3. การเดิมพันส่วนบุคคล
4. กลยุทธ์ด้านการจัดการ
5. ปัจจัยด้านรูปแบบในการดำเนินการ

กฎของการดำเนินการ
1. อย่าเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ไม่จำเป็น
2. ควรระมัดระวังความผิดพลาด
3. ไม่ควรที่จะอยู่กับที่ในการพัฒนาควรจะเดินไปข้างหน้า
4. อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ

     ในการดำเนินงานต้องมีเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ ผู้บริหารต้องใช้ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกเพื่อนำมาประกอบสนับสนุนการตัดสินใจนั่นก็คือ ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS)นั่นเอง เป็นตัวที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้การดำเนินงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ

ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ มีทั้งหมด 5 ข้อที่สำคัญ
1. Models
2. Optimization
3. Statistic
4. Data
5. Q / A

ขั้นตอนการสนับสนุนการตัดสินใจ (The retailing decision support system)
1. Input
2. Output
3. Evaluation

New Product Planning พี่จิ๊บ

โปรแกรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทีมงานจะต้องมีความชำนาญ
3. การวิจัยทางการตลาด
4. การวางแผนการขายและการพยากรณ์ยอดขาย

ชนิดของผลิตภัณฑ์ใหม่1. เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ
2. ยี่ห้อใหม่ๆ
3. รูปแบบแพคเกจใหม่ๆ
การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ถ้ามีการใช้วิธีการโฆษณาจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่จะทำให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วย

product / service Model

product / service หมายถึง อะไรก็ตามที่สร้างความพึงพอใจ ตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของผู้บริโภค สิ่งที่ตลาดให้ความสนใจ และเป็นสิ่งที่จับตามอง เช่น องค์กรกาชาติ ร้านตัดผม
สินค้าและบริการทุกอย่างต้องมบรรจุภัณฑ์หอหุ้มตัวมันเองเสมอ

Classifictions of Products / Service
1. แบ่งตามความทนทาน หรือจับต้องได้ เช่น ซื้อบ่อยเป็นของใช้ทั่วไป
2. แบ่งตามการใช้งานของผู้บริโภค หรืออุตสาหกรรมการผลิต

ทฤษฎีของสินค้า / การบริการ
1. Service Decision มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันกับ Mkt mix decision
2. Service Decision มีตัวแปรที่สำคัญคือ สินค้าและบริการ

รูปแบบการตัดสินใจสำหรับการออกแบบผิตภัณฑ์หรือบริการ
1. วิธีการหาความคดของลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
2. การหาตัวเลือกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ


วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Sales Force

Sales Force คือการส่งเสริมการขายโดยการใช้พนักงาน หมายถึงบทบาทหน้าที่ของทีมขายเป็นตัวกลางระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ ช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
พนักงานขาย (Salesperson) คือ บุคคลที่รับผิดชอบในการติดต่อ แสวงหาลูกค้า เสนอขาย กระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความตั้งใจและตัดสินใจซื้อ ให้บริการก่อนและหลังการขาย รวมถึงการให้คำแนะนำลูกค้า ในองค์การซึ่งประกอบด้วยพนักงานขายมากกว่าหนึ่งคนจึงจัดตั้ง หน่วยงานขาย (Sales force) ซึ่งหมายถึง กลุ่มของพนักงานขายตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปที่รับผิดชอบในการติดต่อ แสวงหาลูกค้า เสนอขาย ตลอดจนให้บริการก่อนและหลังการขายแก่ลูกค้า

การกำหนดขนาดของทีมขายให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของเรา
กำไรสูงสุด = ผลต่างยอดขายของสิ่งที่ขายได้ - ต้นทุน

promotio model

การส่งเสริมการขายประกอบด้วยเครื่องมือและยุทธวิธีที่หลากหลาย
วัตถุประสงค์การส่งเสริมการขายจุดมุ่งหมายเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ (product versus nonproduct advertising) จุดมุ่งหมายของการโฆษณาเพื่อการขายสินค้าและบริการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงิน หรือสิ่งมีค่าบางอย่าง
ส่วนจุดมุ่งหมายที่ไม่ใช่การโฆษณาผลิตภัณฑ์ ก็คือ การโฆษณาสถาบันหรือบริษัทโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเชื่อถือศรัทธา ขัดเกลาภาพลักษณะของบริษัทให้เกิดทัศนคติที่ดีในสายตาของลูกค้า รวมทั้งเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือความเข้าใจผิดในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัทอีกด้วยลักษณะของการส่งเสริมการขาย

การโฆษณา Advertising

     การโฆษณา Advertising เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพและแรงผลักดันทางด้านการจัดการการตลาด เพราะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า และก่อให้เกิิดมูค่าแก่องค์การธุรกิจเอง
     "โฆษณา" หมายถึง รูปแบบการใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร โดยไม่ใช้บุคคลเกี่ยวกับองค์การผลิตภัณฑ์ บริการ การโฆษณาอยู่ในทุก ๆ ส่วนของส่วนประสมทางการตลาด
     เป้าหมายของการโฆษณา คือ การทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ขององค์กร และทำให้ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อ
     การวางแผนโฆษณา จะต้องวางแผนงบประมาณ วางแผนสื่อโฆษณา​ แ ละเลือกช่องทางสื่อที่จะลงโฆษณา รวมถึงต้องคำนึงถึงต้นทุนที่จะใช้ในการโฆษณาด้วย

รูปแบบพฤติกรรมการซื้อ(พี่นาง)

พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นกระบวนการหรือพฤติกรรมการตัดสินใจ การซื้อ การใช้ และการประเมินผลการใช้สินค้าหรือบริการของบุคคล ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการซื้อสินค้าและบริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต   

 แบบจำลองพฤติกรรมการซื้อขององค์กร เน้น 3 เรื่อง ดังนี้
1. ลักษณะทางจิตวิทยา
2. ร่วมตัดสินใจ บอกถึงความแตกต่งการซื้อ
3. กระบวนการความคิดเห็นที่แตกต่าง

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ปัจจัยภายนอกเช่น ระบบเศรษฐกิจ และการเมือง

การวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

ในทุก 3 ปีทั่วโลกจะมีแบรนด์ใหม่เกิดขึ้น 50,000 แบรนด์
ผลิตภัณฑ์ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ใช้สำหรับกิจการ อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแนวคิดใหม่หรือเป็นการปลี่ยนแปลงบางอย่างในผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว (การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องมีผลให้ผู้บริโภคพึงพอใจผลิตภัณฑ์มากขึ้นกว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์เดิม) หรืออาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมที่นำเสนอในตลาดใหม่ 
 จากความหมายของผลิตภัณฑ์ใหม่ จึงอาจจำแนกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ 3 ลักษณะคือ
1. Innovative Product หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอในตลาดมาก่อนหรือเป็นแนวคิดใหม่ที่ผู้บริโภคอาจยังคาดไม่ถึง
2. Replacement Product of Modify Product หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
มาจากผลิตภัณฑ์เดิมที่ขายอยู่แล้วในตลาด ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการ และสร้างความ
พึงพอใจแก่ผู้บริโภคได้มากขึ้นกว่าเดิม
3. Imitative or Me-too Product หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับกิจการแต่ไม่ใหม่ในท้องตลาด เกิดจากการที่กิจการเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทำให้กิจการมีโอกาสทำกำไรสูง จึงเสนอผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดเพื่อขอส่วนแบ่งตลาดบ้าง


 














New product หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. Innovation หมายถึง ผลิตภัณฑ์นวตกรรมใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาด
2. Modified หมายถึง ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่ โดยการปรับเปลี่ยน ดัดแปลงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้มีความแปลกใหม่มากขึ้น
3. Me-too หมายถึง ผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ โดยการลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับบริษัท แต่เก่าในตลาด
     
     
     

ราคา Price

วัตถุประสงค์ในการตั้งราคา
1. ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กร
2. ลักษณะของผู้บริโภค
3. พิจารณาต้นทุนสินค้าและต้นทุนทางการตลาด
4. การแข่งขัน
5. การเปลี่ยนแปลงของขั้นตอนที่ 2,3,4 ตามกาลเวลา


แต่ถ้าสินค้าใดที่เมื่อราคาเปลี่ยนแปลงแล้วทำให้ปริมาณความต้องการซื้อเปลี่ยนแปลงไปในสัดส่วนที่น้อยกว่าในกรณีนี้นักการตลาดจะมีแนวโน้มตั้งราคาสินค้าสูง เพราะจะทำให้เกิดรายได้มากกว่่าการตั้งราคาต่ำ เนื่องจากการตั้งราคาต่ำมีผลค่องข้างน้อยต่อการเพิ่มปริมาณความต้องการซื้อ


กลยุทธ์ทางการตลาด

     กลยุทธ์ทางการตลาดในบทนี้จะศึกษาเกี่ยวกับการวางแผน และกลยุในการตัดสินใจ ประกอบด้วย     3 ส่วน ดังนี้
1. การประเมินผลแบบดั้งเดิมของโอกาสทางการตลาดและจุดแข็งทางธุรกิจ
2. แก่นของกลยุทธ์ทางการตลาด
3. รุ่น(ช่วงเวลา ) และการประเมินผลของวัตถุประสงค์และกลยุทธ์รวมทั้ง


พฤติกรรมผู้บริโภค(ส่วนที่ 2)

การประเมินทางเลือกของฤติกรรมผู้บริโภค ประกอบด้วย 2 ทางเลือก
1. เปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจซื้อ
2. ความพึงพอใจของผู้บริโภค

การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เกิดจากปัจจัย 2 ด้าน ประกอบด้วย
1.ทัศนคติจากคนรอบข้าง
2.ปัจจัยที่ไม่ได้คาดหวังเอาไว้ล่วงหน้า

พฤติกรรมผู้บริโภค

    พฤติกรรมผู้บริโภคขึ้นอยู่กับปัจจัยและสิ่งแวดล้อม นักการตลาดจำเป็นต้องค้นหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและการใช้ของผู้บริโภคเพื่อทราบถึงลักษณะความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค นักการตลาดหาคำตอบให้กับคำถามเกี่ยวกับการตลาดโดยเกี่ยวข้องกับ 6WS และ 1H
จากแบบจำลอ งพฤติกรรมผู้บริโภคจะแสดงให้เห็นถึงเหตุจูงใจที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดสิ่งกระตุ้นที่ผ่านเข้ามาในความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคที่เปรียบเสมือนกล่องดำที่ผู้ผลิต หรือนักการตลาดไม่สามารถคาดคะเนได้เมื่อผู้บริโภครับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นและเกิดความต้องการแล้วจึงจะเกิดการซื้อหรือการตอบสนอง
      ตัวกระตุ้นพฤติรรมผู้บริโภคจะประกอบด้วยปัจจัยภายในซึ่งจะถูกกระตุ้นด้วยปัจจัย 4 ส่วน คือปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม สังคม บุคคล และปัจจัยทางด้านจิตวิทยา นอกจากปัจจัยภายในแล้วตัวกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภคยังประกอบด้วยสิ่งเร้าที่เกิดจากตัวกระตุ้นภายนอก

     รูปแบบ 5 ขั้นตอนของพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
1. Need
2. Information Search
3. Evalnuation
4. Purchase
5. Post Purchase

Product Model

จากการที่ได้รับมอบหมายให้สรุปในเรื่องของ Product ได้สรุปมาดังนี้
    

     ผลิตภัณฑ์คือ สิ่งใด ๆ ที่นำเสนอสู่ตลาดเพื่อให้เกิดความสนใจ เพื่อให้จับจองเป็นเจ้าของ หรือเพื่อใช้บริโภคซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการหรือความจำเป็นได้ ผลิตภัณฑ์มิได้หมายรวมถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ผลิตภัณฑ์ยังรวมถึงการบริการ สถานที่ บุคคล องค์กร ความคิด
 
การจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์
1.  เกณฑ์อายุใช้งานผลิตภัณฑ์คงทน, ผลิตภัณฑ์ไม่คงทน
2.  เกณฑ์ทางกายภาพ ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้, ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ 
3.  เกณฑ์ทางกายภาพ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค
 
ระดับของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย
1. Core customer value
2. Actual product
3. Augmented product

Product Design เมื่อนักออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงนักการตลาดได้สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้ว พวกเขาจะต้องกำหนดประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า หลังจากนั้นจึงออกแบบผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงขึ้นมา รวมทั้งต้องค้นหาวิธีเสนอผลิตภัณฑ์ควบด้วย เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ในที่สุด

 

 



 


 
 
 

 
    

การแข่งขันกับเทคโนโลยีสิค้าใหม่: รูปแบบจำลองกระบวนการของกยุทธ์

จากการที่ท่านอาจารย์ได้ให้ศึกษา Review 5 Model เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product) ดังนี้

เรื่องที่ 5 การแข่งขันกับเทคโนโลยีสิค้าใหม่: รูปแบบจำลองกระบวนการของกยุทธ์
(Competing with new product technologies: A process model of strategy)
ผู้แต่ง Das, Shobha S;Andrew H Van de Ven



อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่อง การแข่งขันกับเทคโนโลยีสิค้าใหม่: รูปแบบจำลองกระบวนการของกยุทธ์ สามารถอธิบายได้ว่า การลงทุนทางด้านเทคโนโลยีใหม่ส่งผลกระทบ 2 ด้านด้วยกัน คือด้านที่1 การพัฒนา/ทบทวนความสามารถทางด้านเทคนิค ด้านที่2 การพัฒนา/ทบทวน กฎเกณฑ์การตีราคา ซึ่งปัจจัยทั้ง2ด้านนี้ยังส่งผลต่อการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยี และการใช้กลยุทธ์ทางด้านเทคนิค หรือกลยุทธ์องค์การในการปฏิบัติเพื่อให้ได้เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากตลาด

สิทธิบัตรและกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์: รูปแบบของบุคคลและผลกระทบจากค่าสิทธิบัตร

จากการที่ท่านอาจารย์ได้ให้ศึกษา Review 5 Model เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product) ดังนี้
เรื่องที่ 4 สิทธิบัตรและกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์: รูปแบบของบุคคลและผลกระทบจากค่าสิทธิบัตร
(Patents and product development strategies: a model of antecedents and consequences of patent value)
ผู้แต่ง Malewicki, Debra; Sivakumar,K



อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่อง สิทธิบัตรและกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์: รูปแบบของบุคคลและผลกระทบจากค่าสิทธิบัตร สามารถอธิบายได้ว่าลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมด้านศักยภาพของตลาด ข้อมูลของบริษัท และลักษณะของสิทธิบัตรในเรื่องของมูลค่าของสิทธิบ้ตร และสภาพแวดล้อมทางกฎหมาย เป็นตัวแปรงที่ส่งผลให้เกิดการรับรู้มูลค่าของสิทธิบัตร และส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในเรื่องของการออกใบอนุญาติ และการพัฒนาภายใน

กลยุทธ์นวัตกรรม และผลกระทบของรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของการให้บริการด้านการปฏิบัติงาน

จากการที่ท่านอาจารย์ได้ให้ศึกษา Review 5 Model เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product) ดังนี้
เรื่องที่ 3 กลยุทธ์นวัตกรรม และผลกระทบของรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของการให้บริการด้านการปฏิบัติงาน
(Innovation Strategy and the Impact of a Composite Model of Service Product Development on Performance)
ผู้แต่ง Hull, Frank M. Journal of Service Research



อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่องกลยุทธ์นวัตกรรม และผลกระทบของรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของการให้บริการด้านการปฏิบัติงาน สามารถอธิบายได้ว่าการมีส่วนร่วมของคนในองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศ และกระบวนการควบคุมนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ รวมถึงกลยุทธ์เก่าที่เคยทำในเรื่องเดิมๆ เรื่องซ้ำๆ และกลยุทธ์ใหม่ๆ ก็ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและสามารถประสบความสำเร็จได้

โดยใช้การวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อระบุปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าของลูกค้า

จากการที่ท่านอาจารย์ได้ให้ศึกษา Review 5 Model เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product) ดังนี้

เรื่องที่ 2 โดยใช้การวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อระบุปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าของลูกค้า
(Using conjoint analysis to identify Key factors influencing customer value)
ผู้แต่ง Marija Kuzmanovic, Bisera Andric Gusavac, Mila Martic



     อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่องโดยใช้การวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อระบุปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าของลูกค้า สามารถอธิบายได้ว่า ในเศรษฐกิจโลกปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างชัดเจนสำหรับ บริษัท ที่จะพัฒนาเพิ่มเติมความเข้าใจของตลาดที่พวกเขาทำงานและความชำนาญ ใช้ความเข้าใจนี้ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้น บริษัท ควรรวมเสียงของลูกค้า ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และมุ่งเน้นไปที่มูลค่าของลูกค้าซึ่งเกิดจากช่องว่างระหว่างบริษัทกับลูกค้า เมื่อลูกค้าเกิดความต้องการสินค้าบริษัทก็จะมีความตั้งใจออกแบบ และจัดส่งสินค้าให้ตามความคาดหวังของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ

การบูรณาการสำหรัะทบของสินค้ที่เกิดจากการรับรู้คุณภาพบริการ การรับรู้และความเป็นธรรมของราคา การรับรู้ต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคและความจงรักภักดี

จากการที่ท่านอาจารย์ได้ให้ศึกษา Review 5 Model  เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product) ดังนี้

เรื่องที่ 1 การบูรณาการสำหรับผลกระทบของสินค้ที่เกิดจากการรับรู้คุณภาพบริการ การรับรู้และความเป็นธรรมของราคา การรับรู้ต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคและความจงรักภักดี
(An integrated model for the effects of perceived product, perceived service quality, and perceived price fairness on consumer satisfaction and loyalty)
ผู้แต่ง Lien-Ti Bei;Yu-Ching Chiao




อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่อง การบูรณาการสำหรับผลกระทบของสินค้ที่เกิดจากการรับรู้คุณภาพบริการ การรับรู้และความเป็นธรรมของราคา การรับรู้ต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคและความจงรักภักดี สามารถอธิบายได้ว่า คุณภาพของสินค้า คุณภาพการบริการ และราคาที่เป็นธรรม เป็นตัวแปรที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิด

องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์

     องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย 5 ระดับ ดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์หลัก (Core product) คือ ประโยชน์หลัก หรือประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์
2. รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Formal product) คือ ลักษณะทางกายภาพ หรือรูปลักษณ์ภายนอกที่เรามองเห็น เช่น คุณภาพ รูปร่าง หีบห่อ
3. ผลิตภัณฑ์คาดหวัง (Expected product) ประโยชนหลาย ๆ อย่าง เช่น ประสิทธิภาพ ประโยชน์ ราคา
4. ผลิตภัณฑ์ควบ (Augmented product) ประโยชน์ที่นอกเหนือจากประโยชน์หลัก เช่น การให้บริการอื่น ๆ การรับประกัน
5. ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ (Potential Product) ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ คือการพัฒนาลักษณะ   ใหม่ ๆ ของผลิตภัณฑ์ เช่น คุณสมบัติ อรรถประโยชน์

เครื่องมือในการวิเคราะห์ลูกค้า

     เครื่องมือในการวิเคราะห์ลูกค้าที่นักการตลาดจำเป็นต้องรู้ คือ การแบ่งส่วนตลาด (STP: Segmentation Targeting Positioning) หรือ ประกอบด้วย (Segmentation) และกำหนดตลาดเป้าหมายทีต้องการ (Targeting) จากนั้นจึงมาทำการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ในตลาด หรือ (Targeting)

ขั้นตอนในการแบ่งส่วนตลาดจะประกอบไปด้วย
ขั้นตอนที่ 1 การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation)  เป็นการแบ่งกลุ่มลูกค้าที่คาดหวังออกไปตามเกณฑ์โดยใช้ข้อมูลในการแบ่งส่วนตลาด
ขั้นตอนที่ 2 การเลือกตลาดเป้าหมาย(Targeting)  เป็นการเฉพาะเจาะจงในการเลือกตลาดเพียงส่วนเดียว เพราะจะทำให้รู้ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มใด โดยมีกลยุทธ์ในการเลือกตลาดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 3 การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างเอกลักษณ์ให้ผู้บริโภคเป้าหมายจำได้ และจะต้องสอดคล้องกับประโยชน์ที่ลูกค้าเป้าหมายต้องการ

                
                

สภาพแวดล้อมทางการตลาด(Marketing Environment)

สภาพแวดล้อมทางการตลาดเราจะให้ SWOT ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วยสภาพแวดล้อม 2 กลุ่ม ดังนี้
     1. สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Factors) เป็นการวิเคราะห์ปัจจุบันแต่ใช้ข้อมูลในอดีต ซึ่งเกิดขึ้นภายในองค์กรและสามารถควบคุมได้ ประกอบด้วยการวิเคราะห์กิจการทางการตลาด 4 P's และปัจจัยอื่นๆ เป็นการวิเคราะห์ คน งาน ระบบ
     2. สภาพแวดล้อมภายนอก (External Factors) คือปัจจัยที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กรและไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยภายนอกเป็นการวิเคราะห์ปัจจุบันแต่ใช้ข้อมูลในอนาคตแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ สภาพแวดล้อมจุลภาค และมหภาค
     สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกิดขึ้นคือความเสี่ยงนักการตลาดจะต้องลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และตั้งมือรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแต่ถ้ารับไม่ไหวก็ต้องยอมที่จะเลิกและกลับไปคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา

รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค

      นักการตลาดจำเป็นต้องค้นหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและการใช้ของผู้บริโภคเพื่อทราบถึงลักษณะความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค นักการตลาดหาคำตอบให้กับคำถามเกี่ยวกับการตลาดโดยเกี่ยวข้องกับ 6WS และ 1H
      จากแบบจำลองพฤติกรรมผู้บริโภคจะแสดงให้เห็นถึงเหตุจูงใจที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดสิ่งกระตุ้นที่ผ่านเข้ามาในความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคที่เปรียบเสมือนกล่องดำที่ผู้ผลิต หรือนักการตลาดไม่สามารถคาดคะเนได้เมื่อผู้บริโภครับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นและเกิดความต้องการแล้วจึงจะเกิดการซื้อหรือการตอบสนอง
     ตัวกระตุ้นพฤติรรมผู้บริโภคจะประกอบด้วยปัจจัยภายในซึ่งจะถูกกระตุ้นด้วยปัจจัย 4 ส่วน คือปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม สังคม บุคคล และปัจจัยทางด้านจิตวิทยา นอกจากปัจจัยภายในแล้วตัวกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภคยังประกอบด้วยสิ่งเร้าที่เกิดจากตัวกระตุ้นภายนอก

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

งานReview 5 Model (Product)

เรื่องที่ 1 การบูรณาการสำหรับผลกระทบของสินค้ที่เกิดจากการรับรู้คุณภาพบริการ การรับรู้และความเป็นธรรมของราคา การรับรู้ต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคและความจงรักภักดี
(An integrated model for the effects of perceived product, perceived service quality, and perceived price fairness on consumer satisfaction and loyalty)
ผู้แต่ง Lien-Ti Bei;Yu-Ching Chiao


 
อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่อง การบูรณาการสำหรับผลกระทบของสินค้ที่เกิดจากการรับรู้คุณภาพบริการ การรับรู้และความเป็นธรรมของราคา การรับรู้ต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคและความจงรักภักดี สามารถอธิบายได้ว่า คุณภาพของสินค้า คุณภาพการบริการ และราคาที่เป็นธรรม เป็นตัวแปรที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิด



เรื่องที่ 2 โดยใช้การวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อระบุปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าของลูกค้า
(Using conjoint analysis to identify Key factors influencing customer value)
ผู้แต่ง Marija Kuzmanovic, Bisera Andric Gusavac, Mila Martic


อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่องโดยใช้การวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อระบุปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าของลูกค้า สามารถอธิบายได้ว่า ในเศรษฐกิจโลกปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างชัดเจนสำหรับ บริษัท ที่จะพัฒนาเพิ่มเติมความเข้าใจของตลาดที่พวกเขาทำงานและความชำนาญ ใช้ความเข้าใจนี้ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้น บริษัท ควรรวมเสียงของลูกค้า ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และมุ่งเน้นไปที่มูลค่าของลูกค้าซึ่งเกิดจากช่องว่างระหว่างบริษัทกับลูกค้า เมื่อลูกค้าเกิดความต้องการสินค้าบริษัทก็จะมีความตั้งใจออกแบบ และจัดส่งสินค้าให้ตามความคาดหวังของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ



เรื่องที่ 3 กลยุทธ์นวัตกรรม และผลกระทบของรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของการให้บริการด้านการปฏิบัติงาน
(Innovation Strategy and the Impact of a Composite Model of Service Product Development on Performance)
ผู้แต่ง Hull, Frank M. Journal of Service Research


อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่องกลยุทธ์นวัตกรรม และผลกระทบของรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของการให้บริการด้านการปฏิบัติงาน สามารถอธิบายได้ว่าการมีส่วนร่วมของคนในองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศ และกระบวนการควบคุมนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ รวมถึงกลยุทธ์เก่าที่เคยทำในเรื่องเดิมๆ เรื่องซ้ำๆ และกลยุทธ์ใหม่ๆ ก็ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและสามารถประสบความสำเร็จได้
 


เรื่องที่ 4 สิทธิบัตรและกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์: รูปแบบของบุคคลและผลกระทบจากค่าสิทธิบัตร
(Patents and product development strategies: a model of antecedents and consequences of patent value)
ผู้แต่ง  Malewicki, Debra; Sivakumar,K


 
อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่อง สิทธิบัตรและกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์: รูปแบบของบุคคลและผลกระทบจากค่าสิทธิบัตร สามารถอธิบายได้ว่าลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมด้านศักยภาพของตลาด ข้อมูลของบริษัท และลักษณะของสิทธิบัตรในเรื่องของมูลค่าของสิทธิบ้ตร และสภาพแวดล้อมทางกฎหมาย  เป็นตัวแปรงที่ส่งผลให้เกิดการรับรู้มูลค่าของสิทธิบัตร และส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในเรื่องของการออกใบอนุญาติ และการพัฒนาภายใน
 
 
 
เรื่องที่ 5 การแข่งขันกับเทคโนโลยีสิค้าใหม่: รูปแบบจำลองกระบวนการของกยุทธ์ 
(Competing with new product technologies: A process model of strategy)
ผู้แต่ง Das, Shobha S;Andrew H Van de Ven

 
 
อธิบายกรอบแนวคิด: จากการที่ได้ศึกษากรอบแนวคิดในเรื่อง การแข่งขันกับเทคโนโลยีสิค้าใหม่: รูปแบบจำลองกระบวนการของกยุทธ์ สามารถอธิบายได้ว่า การลงทุนทางด้านเทคโนโลยีใหม่ส่งผลกระทบ 2 ด้านด้วยกัน คือด้านที่1 การพัฒนา/ทบทวนความสามารถทางด้านเทคนิค ด้านที่2 การพัฒนา/ทบทวน กฎเกณฑ์การตีราคา ซึ่งปัจจัยทั้ง2ด้านนี้ยังส่งผลต่อการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยี และการใช้กลยุทธ์ทางด้านเทคนิค หรือกลยุทธ์องค์การในการปฏิบัติเพื่อให้ได้เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากตลาด



 

 
   

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิทยากรพิเศษ ท่านดร.วัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ เจ้าของบริษัท Bathroom Design

     จากการที่ได้ฟังวิทยากรพิเศษ ท่าน ดร.วัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ เจ้าของกิจการ Bathroom Designบรรยายเรื่อง "การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับองค์กรธุรกิจ" ซึ่งได้รับความรู้มากมายพอสรุปได้ดังนี้

 
      เงื่อนไขความรู้ คือรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และเงื่อนไขคุณธรรม คือซื่อสัตย์ สุจริต ขยัด อดทน แบ่งปัน บวกด้วยการดำเนินชีวิตบนทางสายกลางมี 3 ห่วง คือ 1.ความพอประมาณ 2.ความมีเหตุผล   3.การสร้างภูมิคุ้มกัน ก่อให้เกิดความสมดุล การพร้อมต่อการเปลี่ยนปลง และการก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
     ท่านดร.วัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ ได้ดำเนินธุรกิจ และทำกำไรโดยยึดหลักทางสายกลางดังกล่าวข้างต้น หลักการดำเนินธุรกิจ และทำกำไรโดยไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การประสบความสำเร็จของธุรกิจนั้นมาจาก คำ 3 คำที่สำคัญ  1.ความสุข คือเป้าหมาย หรือความสำเร็จ 2.ความรัก ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจ 3.ความสมดุล
    ผลิตภัณฑ์(Product) ของ Bathroom Design เน้นในเรื่องของการสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า(Innovation) และการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค สร้างความสุขให้กับผู้บริโภค ด้วยความรักในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินธุรกิจ 
 
    
 

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Customer Based Brand Equity

     การสร้างตัวแบบจากทฤษฎีมูลค่าตราสินค้าในมุมมองของลูกค้า
1. การวางแผนการสร้าง Brand Equity ประกอบด้วย -การวิเคราะห์ตราสินค้า และ -การเรียนรู้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
2. การปฏิบัติการติดต่อสื่อสาร Brand จากธุรกิจไปยังกลุ่มลูกคาเป้าหมาย
3. การประเมินผล
     เกิดเอกลักษณ์ / อัตลักษณ์ของธุรกิจ คือ
1. Brand identity
2. Brand Awareness
     สื่อสารเอกลักษณ์ / อัตลักษณ์ของธุรกิจ ดังนี้
1. Brand Awareness
2. Brand Praference
3. Brand Loyalty
     การประเมินผลความสำเร็จ
1. Brand Loyalty
2. Brand Trust


การโฆษณา

     การโฆษณา หมายถึง การให้ข้อมูล ข่าวสาร เป็นการสื่อสารจูงใจผ่านสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ เพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย มีพฤติกรรมคล้อยตามเนื้อหาสารที่โฆษณา อันเอื้ออำนวยให้มีการซื้อหรือใช้สินค้าและบริการ ตลอดจนชักนำให้ปฏิบัติตามแนวความคิดต่าง ๆ ทั้งนี้ขอให้ผู้โฆษณาหรือผู้อุปถัมภ์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสื่อนั้น ๆ
    
ADIA MODEL FOR ตลาดออนไลน์ ประกอบด้วย
1. Action คือ การทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้านั้น ซึ่งLewisเชื่อว่าหากบริษัทสามารถทำให้เกิดขั้นตอนแรกได้แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายจะเกิดขึ้นแน่นอน (เมื่อเราโฆษณาไปแล้ว ลูกค้าต้องเกิดการตัดสินใจซื้อ)
2. Desire คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายต้องการซื้อสินค้ามาใช้เรื่องจากความต้องการประโยชน์จากสินค้า
3. Interest คือ การกระตุ้นให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสนใจและพอใจกับคุณสมบัติหรือประโยชน์ของสินค้า
4. Attentions คือ การทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรับรู้ว่ามีสินค้านี้อยู่ในตลาด

 

กลยุทธ์ทางการตลาด

     กลยุทธ์การตลาด ถูกออกแบบขึ้นโดยการรวมความพยายามทั้งหมด มุ่งเน้นการนำไปสู่ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทางการตลาด ซึ่งประกอบด้วยการเลือกเป้าหมายตลาดหนึ่งหรือหลายตลาด จากนั้นจึงพัฒนาส่วนประสมการตลาด   (4 P's) (ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด และการจัดจำหน่าย) เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดเป้าหมายนั้น โดยทำให้ความต้องการของลูกค้าในตลาดนั้นได้รับการตอบสนอง ทำให้ได้รับความพึงพอใจ แม้ว่ากลยุทธ์การตลาดที่จัดทำขึ้นจะเกี่ยวข้องกับการเลือกตลาดเป้าหมาย และการพัฒนาส่วนประสมการตลาด แต่การดำเนินงานทั้งสองอย่างจะต้องยึดหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. จะต้องสอดคล้องตามความต้องการและความมุ่งหมายของตลาดเป้าหมาย
2. สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ และสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และ
3. จะต้องสอดคล้องกับพันธกิจ (mission) เป้าหมาย (goals) และวัตถุประสงค์(objectives) ของบริษัทอีกด้วย
     ศึกษากลยุทธ์ PLC วงจรชีวิต มีรายละเอียด คือ Product Life Cycle : PLC คือ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ เมื่อเริ่มการจำหน่ายแล้ว จะมียอดขายเติบโตและเสื่อมถอยลง ตามหลักไตรลักษณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ซึ่งในทางธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงคือ
1. Introduction ช่วงเริ่มต้น เป็นช่วงที่ยอดขายของผลิตภัณฑ์ค่อนข้างต่ำ เพราะลูกค้ายังไม่รู้จักคุณประโยชน์
ของผลิตภัณฑ์มากนัก

2. Growth ช่วงเติบโต ช่วงนี้ยอดขายจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะผลิตภัณฑ์ติดตลาดแล้ว

3. Maturity ช่วงอิ่มตัว เป็นช่วงที่ยอดขายเติบโตถึงระดับสูงสุด ในช่วงนี้ยอดขายจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก

4. Decline ช่วงลดลง เป็นช่วงที่ยอดขายลดลง อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีคู่แข่งหรือสินค้าทดแทนเข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมาก

การกระจายสินค้า Distribution

การกระจายสินค้า Distribution  หมายถึง  คือ ระดับของการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ต้องการโดยนักการตลาด ซึ่งระดับความสำคัญนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความสามารถในการผลิตสินค้า ขนาดของตลาดเป้าหมาย ราคาและนโยบายการขายสินค้า จำนวนของความต้องการของผู้บริโภค
การแบ่งระดับของการกระจายสินค้า
ระดับของการกระจายสินค้า แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
1. Exclusive Distribution
เป็นสุดยอดรูปแบบของ selective distribution คือมีเพียงผู้ขายส่ง 1 ราย ผู้ขายปลีกหรือผู้กระจายสินค้าอยู่ในสถานที่เฉพาะ
2. Intensive Distribution
มีเป้าหมายเพื่อหาตลาดในการระบายสินค้า สำหรับหลายผลิตภัณฑ์ มีการขายโดยตรง เช่น บุหรี่ เบียร์
Intensive Distribution เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคมีทางเลือกหลายแบรนด์ หรือกล่างได้อีกอย่างว่า ถ้าหาสินค้ายี่ห้อนั้นไม่ได้ ก็ซื้อยี่ห้ออื่น
3. Selective Distribution เกี่ยวกับผู้ผลิตที่มีทางระบายสินค้าในพื้นที่นั้นๆ อยู่จำนวนหนึ่ง ประโยชน์ของวิธีนี้คือ ผู้ผลิตสามารถเลือกวิธีการระบายสินค้าได้และอยู่ตัวแล้ว
Selective Distribution สามารถใช้งานได้ดีที่สุดเมื่อผู้บริโภค “ต้องไปซื้อ” หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผู้ใช้มีแบรนด์หรือราคาที่พอใจอยู่แล้วและต้องไปหาซื้อสินค้านั้นยังสถานที่กำหนด
การกระจายสินค้า มีกลยุทธ์ทั้งหมด 9 ข้อดังนี้
1.  Manufacturing inventory include input, output, work in process and MRO
2.  Warehousingที่เก็บรวบรวมวัตถุดิบที่ทำการจัดซื้อมา บริหารการจัดการเก็บไว้
3.  Material Handingการใช้มือหยิบจับ
4.  Packaging คือ การรวบรวม ชิ้นส่วนแต่ละส่วนในกล่อง หรือ พาเหรดเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการประกอบเป็นชิ้นเดียวกัน เช่น อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนรถยนต์
5.  Finished goods inventory การบริหารการจัดการสินค้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว
6.  Distribution Planning เป็นการวางแผนเส้นทางการขนส่งในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมนั้นๆ
7.  Order Processing เป็นกระประมวลกระบวนการผลิต จากคำสั่งซื้อจาก Supplierโดยการจัดให้ทุกๆ ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมในเรื่องของเวลาทางการผลิต
8. Transportationเป็นกระบวนการขนส่ง และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมพบว่า การขนส่งทางบกที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อยู่ในระยะทางไม่เกิน 300 กม.
9. Customer Service การได้รับความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการ

ผลิตภัณฑ์(Product)

ผลิตภัณฑ์(Product) หมายถึง ทุกสิ่งที่นักตลาดนำเสนอสู่ตลาด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค
สินค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สินค้าอุปโภค บริโภค และสินค้าอุตสาหกรรม
สินค้าอุปโภค บริโภค แบ่งได้เป็น4 ประเภท คือ
1.สินค้าสะดวกซื้อ เช่น สินค้าสำคัญหลัก สินค้าซื้อฉับพลัน และสินค้าฉุกเฉิน
2.สินค้าเปรียบเทียบซื้อ เช่น ซื้อเหมือนกัน และซื้อต่างกัน
3.สิ้นค้าเจาะจงซื้อ เช่น ตรายี่ห้อ / ลักษณะพิเศษ และความเคยชิน
4.สินค้าไม่แสวงซื้อ เช่น ไม่รู้จัก และไม่มีความจำเป็น
สินค้าอุตสาหกรรม แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.สินค้าประเภทวัตถุดิบ และชิ้นส่วนประกอบ เช่น วัตถุดิบ และวัตถุดิบชิ้นส่วนในการผลิต
2.สินค้าประเภททุน เช่น สิ่งติดตั้ง และอุปกรณ์ประกอบ
3.สินค้าวัสดุสิ้นเปลืองและบริการ เช่น วัสดุสิ้นเปลือง และบริการ

องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ 5 ระดับ
1.ผลิตภัณฑ์หลัก
2.รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์
3.ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง

4.ส่วนควบผลิตภัณฑ์

5.ศักยภาพสำหรับผลิตภัณฑ์

ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย
 1. ความกว้างของสายผลิตภัณฑ์
 2. ความยาวของสายผลิตภัณฑ์
 3. ความลึกของสายผลิตภัณฑ์
 4. ความสอดคล้องของสายผลิตภัณฑ์

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
 1. ขั้นแนะนำ
 2. ขั้นเจริญเติบโต
 3. ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่
 4. ขั้นตกต่ำ

การตลาดบริการ(Service Marketing)

     การตลาดบริการ(Service Marketing) หมายถึง กิจกรรมหรือผลประโยชน์ที่บุคคลหนึ่งเสนอแก่อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคือไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ และไม่มีผลในการเป็นเจ้าของ โดยอาจจะมีตัวสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ก็ได้
     ในปัจจุบันธุรกิจบริการได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จึงมีบริการเข้ามาเป็นส่วนประกอบ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (a competitive advantage) ตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อรถยนต์ก็จะมีการให้บริการควบคู่กันไปด้วย ทั้งการบริการก่อน-หลังการขาย หรือเมื่อคุณซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ผู้ขายก็จะเสนอบริการส่งสินค้าถึงบ้าน บริการด้านการเงิน การรับประกัน และการบำรุงรักษา เป็นต้น
       ธุรกิจในปัจจับันให้ความสำคัญกับการบริการเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี
 

การจัดตั้งทีมขาย(Sale Force)

     การจัดตั้งทีมขาย เพื่อให้เกิดการขายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของสินค้า เริ่มจากการกำหนดเป้าหมายว่าต้องการมุ่งเน้นด้านไหน
การศึกษาโดยจะต้องกำหนดปัจจัยภายในซึ่งประกอบด้วย
1. การกำหนดกลยุทธ์
2. การขาย
3. กระประเมินผล
ปัจจัยภายนอก คือ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. การกำหนดพนักงาน
3. การติดต่อลูกค้า
     เมื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน และภายนอกแล้ว ก็จะมากำหนดสินค้า กำหนดเป้าหมาย จากนั้นทำการจัดตั้งทีมขาย ทำการขาย และปิดการขาย

การส่งเสริมการตลาด(Promotion)

     การส่งเสริมการตลาด(Promotion) คือ กระบวนการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ การสร้างการรับรู้ เป็นฝั่งการสื่อสารระหว่างตัวเราไปยังผู้บริโภค
เครื่อมือของการส่งเสริมการตลาด ประกอบด้วย
1. การโฆษณา(Advertising)
2. การส่ิงเสริมการขาย(Sales promotion)
3. การขายโดยใช้พนักงานขาย(Personal selling)
4. การให้ข่าว และประชาสัมพันธ์(Publicity and public relations)
5. การตลาดทางตรง(Direct marketing)

พฤติกรรมผู้บริโภค

     พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง กระบวนการตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อ และการใช้สินค้า หรือบริการต่าง ๆ
ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ ประกอบด้วย
1. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
2. ปัจจัยทางสังคม
3. อิทธิพลจากบุคคล
4. ครอบครัว
5. สถานการณ์
กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค
1. เล็งเห็นปัญหา หรือตระหนังถึงความต้องการ
2.เสาะแสวงหาข่าวสาร
3. ประเมินค่าทางเลือกการตัดสินใจซื้อ
4. ตัดสินใจซื้อ
5. ผล หรือการบริโภค
6. การประเมินผลหลังการบริโภค คือ พอใจ/ไม่พอใจ

ราคา(Price)

    ราคา(Price) คือ จำนวนเงินที่ใช้แลกเปลี่ยนกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์
    การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาประกอบด้วยปัจจัยภายใน เช่น ปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การ ต้นทุน ลักษณะผลิตภัณฑ์ ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น ตลาดและอุปสงค์ ประเภทของลูกค้า ภาวะการแข่งขัน กฎหมาย เป็นต้น
ขั้นตอนการกำหนดราคาประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ในการตั้งราคา
2. คาดคะเนปริมาณความต้องการซื้อสินค้า
3. คาดคะเนต้นทุน
4. วิเคราะห์ต้นทุนราคา และสินค้าของคู่แข่ง
5. เลือกวิธีการตั้งราคา
6. การตัดสินใจเลือกราคาขั้นสุดท้าย
กลยุทธ์การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ใหม่ มีดังนี้
1. กำหนดราคาเริ่มแรกสูง
2. กำหนดราคาเพื่อเจาะตลาด(ราคาเริ่มแรกต่ำ)
กลยุทธ์ด้านราคา ประกอบด้วย
1. ตั้งตามแนวภูมิศาสตร์
2. การให้ส่วนลด
3. เพื่อส่งเสริมการตลาด
4. ตั้งราคาให้แตกต่าง
5. ตั้งราคาสำหรับส่วนประสมผลิตภัณฑ์
6. ตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา
7. ตั้งราคาสำหรับสินค้าใหม่
8. ราคาสินค้าที่เสื่อมความนิยม
9. การลดราคา