วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บริษัท ชอเฮง โรงเส้นหมี่ จำกัด โดยท่านวิทยากร คุณไกรสินธุ์ วงศ์สุรไกล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้กับธุรกิจชอเฮง (23 / 11 / 56)
ประวัติท่านวิทยากร คุณไกรสินธุ์ วงศ์สุรไกร
     รองประธานคณะ AEC Prompt สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     รองประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     กรรมการ และรองเลขาธิการ สภาธุรกิจไทย - จีน
     ประธานกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ไทย - อาเซียน - จีน

รู้เขา รู้เรา ลบร้อยครั้ง ก็ไม่แพ้ If you know yourself and your enemy, you'll never lose a battle
ต้องรู้ว่าตัวเราเองมีอะไรที่อ่อนแอ เราจะได้ปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง และต้องรู้จักคู่แข่งเป็นอย่างดีจะทำให้เราได้เปรียบจะลบกี่ครั้งก็ไม่แพ้

ความเคลื่อนไหนในภูมิภาค จะเห็นได้ว่าจะมีหลาย ๆ ประเทศที่ต่อต้านจีน จากการประชุมอาเซียนจะมีหลาย ๆ ประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับจีน เช่น ฟิลิปปินส์ที่มีปัญหากับจีน และยังมีปัญหากับไตหวันในเรื่องการแบ่งดินแดน เกาะ A Spratley island นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องผู้นำหญิงในประเทศพม่านางอองซานซูจี และประเด็นที่ผู้นำไปประเทศไทยมีความสนิดสนมกับผู้นำประเทศกัมพูชา

TPP = Trans Pacific Partnership ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP)
ก่อตั้งโดยสหรัฐอเมริกา เป็นการสร้างกรอบการค้าธุรกิจแปรซิฟิกส์อาเซียน อาทิเช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม ไทย ซึ่งได้รับการเชิญเป็นสมาชิกด้วย

ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย พม่า ตามลำดับ ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์มีความต้องการข้าวมากที่สุดเนื่องจากมีจำนวนประชากรมาก และประสบปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมจึงมีความต้องการข้าวสูง

ประเทศที่น่าลงทุนในอาเซียนในความคิดของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทโตโยต้า มอร์เตอร์ ประเทศไทย จำกัด อันดับหนึ่งคือประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากและมีความมั่นคงทางการเมือง อันดับสองคือประเทศเวียดนาม และประเทศไทยเป็นอันดับที่สามสาเหตุที่ไทยไม่ได้เป็นอันดับหนึ่งและสองนั้นเนื่องมาจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ปัญหาการคอรัปชั่น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ฯลฯ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้นักลงทุนชาวต่างชาติไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

ต้องรู้จักใช้ประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรภายใต้ข้อตกลง (AHTN) ต้องขอรับสิทธิ์ในการเสียภาษีเป็นศูนย์ ต้องไปกรอง Form D และยื่นขอใบรับรองแหล่งกำเนินสินค้า (ATIGA Form) เพื่อเป็นการขอรับสิทธิในการเสียภาษีเป็นศูนย์ เป็นการขึ้นทะเบียนสินค้าที่จะส่งออก และทำให้สินค้าไปแข่งกับประเทศอื่น ๆ ได้ด้วย

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาพลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)
ก่อตั้งในปี พ.ศ.2535 มีประเทศสมาชิก 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย ลาว เมียงม่าร์ กัมพูชา เวียดนาม  จีน-กว่างซี และจีน-หยุนหนานา

จุดข้ามแดน 8 ด่านศุลกากรสำคัญ (พ.ศ.2554)
สะเดา อรัญประเทศ มุกดาหาร หนองคาย แม่สาย เชียงของ แม่สอด ประดังเบซาร์ ส่วนด่านอื่น ๆ นั้นก็เป็นความหวังว่าในอนาคตจะใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
การค้าชายแดนของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2555 มูลค่าการค้าชายแดนในปี 2555 สูงถึง 910,500 ล้านบาท ซึ่งไทยได้ทำการค้าขายกับประเทศมาเลเซียมากถึง 58% ลาว 19%  เมียนม่าร์ 14% และกัมพูชา 9% ตามลำดับ การค้ากับสมาชิกอาเซียนประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าสูงกว่าประเทศสมาชิกอื่น ๆ  สัดส่วนวิธีการขนส่งสินค้าของไทยในปี 2555 ใช้การขนส่งทางถนนมากถึง 86% ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขัน มีความพร้อมในด้านการขนส่งมากที่สุด คือ ประเทศสิงค์โปร์

สินค้าที่จะส่งเข้าประเทศจีนต้องผ่านด่านการตรวจอย่างเข้มงวด แต่เมื่อผ่านเข้าไปแล้วจะได้รับความนิยมซื้ออย่างมากเนื่องจากได้ผ่านการตรวจอย่างเข้มงวดแล้ว เพราะสินค้าในประเทศจีนเองนั้นไม่มีคุณภาพ

บริษัท ชอเฮง โรงเส้นหมี่ จำกัด  ตั้งอยู่ใน อ.สามพราน จ.นครปฐม นำวัตถุดิบจากข้าวมาแปรรูป เดิมผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่ในปัจจุบันมีการวิจัยพัฒนา ทำให้มีการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น เช่น แป้ข้าวเจ้า แป้ทาตัว ฯลฯ ที่แปลรูปมาการข้าว การบริหารจัดการที่ยากที่สุดคือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจชอเฮงมีการใช้พลังงานโซล่าเซลเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และมีห้องประชุมขนาดใหญ่ 1,000 คน เพื่อบริการแก่ชุมชนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ชอเฮงมีแรงงานพม่ากว่า 80 คน ได้ค่าจ้างวันละ 300 บาทขั้นต่ำ แรงงานไทยม่ค่อยมีมาสมัครจึงต้องพึ่งแรงงานต่าวด้าวที่ถูกกฎหมาย

RCEP ย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือภาษาไทย คือ “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน” หมายถึงข้อริเริ่มของอาเซียนในการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยการจัดทำความตกลงการค้าเสรีร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยเริ่มแรกมีเป้าหมายจะจัดทำความตกลงดังกล่าวกับประเทศภาคีFTAs ปัจจุบันของอาเซียน หรือ ASEAN+6 (คือ ASEAN และ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย) ที่สนใจเข้าร่วมก่อน ส่วนประเทศอื่นๆ จะสามารถเข้าร่วมได้ภายหลังจากที่การเจรจา RCEP เสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้อาเซียนคาดว่าจะสามารถประกาศเริ่มการเจรจา RCEP ได้ภายใน ปลายปี2555 หรือไม่เกินต้นปี2556

ข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของชอเฮง ข้าวที่ติดอันดับว่าเป็นข้าวที่อร่อยที่สุด คือ ประเทศเวียดนาม แต่ในปีที่ผ่านมาเป็นของประเทศกัมพูชาซึ่งประกวดได้อันดับ 1 สองปีซ้อน เป็นข้าวที่อร่อยที่สุดในโลก ประเทศที่ผลิตข้าวและได้ผลผลิตเป็นอันดับหนึ่ง คือเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว และไทยตามลำดับ จะสังเกตได้ว่าไทยมีเกษตรกรที่ปลูกข้าวมากแต่ได้ผลผลิตน้อย
ราคาข้าว ข้าวหอมมะลิบริสุทธ์ 92% มีราคา 1050-1060 เวียดนาม 585-595 จะเห็นได้ว่าขาวไทยมีราคาสูงกว่าเท่าตัวของราคาข้าวหอมมะลิเวียดนาม
ข้าวนึ่ง คือข้าวเปลือกที่มีปริมาณความชื้นสูง หลังจากนั้นนำไปนึ่งให้สุก แล้วจึงลดความชื้น ก่อนที่จะขัดสีเอาเปลือกและรำออก ข้าวนึ่งที่ผลิตได้แบ่งตลาดได้ตามสี คือ ข้าวนึ่งสีเข้ม และสีอ่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และความชำนาญของผู้คุมเครื่องจักร โดยข้าวนึ่งสีเข้มเป็นที่ต้องการของตลาด และมีราคาอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าข้าวนึ่งสีอ่อน ไทยนับเป็นประเทศส่งออกข้าวนึ่งที่สำคัญของโลก ในปัจจุบันข้าวนึ่งที่ผลิตได้นั้นพึ่งพิงการส่งออกทั้งหมด โดยตลาดส่งออกสำคัญ คือประเทศต่างๆในแอฟริกา และตะวันออกกลาง รวมทั้งตลาดข้าวนึ่งคุณภาพสูงในสหรัฐฯและยุโรป

สิ่งที่กำลังเปลี่ยนปลงใน ASENA
1.ภาษีศุลกากร 2.พื้นที่ตลาด 3.การแข่งขัน 4.มาตรการทางการค้า 5.การลงทุน 6.เงินทุนเคลื่อนย้าย 7.การเคลื่อนย้ายแรงงงานฝีมือ 

มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี
การทุ่มตลาด การอุดหนุน ถิ่นกำเนินสินค้า การประเมินราคา มาตรการปกป้อง การออกใบอนุญาตนำเข้า
มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการค้า การบริหารโควต้าภาษี การปิดฉลาก ฯลฯ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในสายตานกลงทุน นักธุรกิจทั้งภายในและต่างประเทศ ไทยไม่ได่เป็นดาวจรัสแสงอีกต่อไป ปัญหาทางการเมือง ความขัดแยังในประเทศ ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ความสามารถในการสื่อสาร ฯลฯ กำลังบดบังศักยภาพสำคัญของประเทศไทยเพิ่มขึ้น

ประเทศจีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ประเทศจีนเป็นประเทศที่น่าเข้าไปลงทุนทำธุรกิจ การทำธุรกิจในประเทศจีนต้องทำการศึกษาถึงขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมในประเทศจีนเพราะจีนเป็นประเทศที่เคร่งครัดในวัฒนธรรม ซึ่งท่านวิทยากรก็ได้สอนถึงขนบธรรมเนียนในประเทศจีนให้พวกเราฟังด้วย

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Product Model สมบูรณ์

จากการที่ได้รับมอบหมายให้สรุปเรื่อง Product Model จากหนังสือ Marketing Model มีดังนี้

คำจำกัดความผลิตภัณฑ์     ผลิตภัณฑ์คือ สิ่งใด ๆ ที่นำเสนอสู่ตลาดเพื่อให้เกิดความสนใจ เพื่อให้จับจองเป็นเจ้าของ หรือเพื่อใช้บริโภคซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการหรือความจำเป็นได้ ผลิตภัณฑ์มิได้หมายรวมถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ผลิตภัณฑ์ยังรวมถึงการบริการ สถานที่ บุคคล องค์กร ความคิด

เกณฑ์การจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์
1. เกณฑ์อายุใช้งาน
    ผลิตภัณฑ์คงทน (Durable goods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานนาน ผู้บริโภคจึงมักต้องการบริการเพิ่มเติม เช่น การรับประกันสินค้า เป็นต้น
    ผลิตภัณฑ์ไม่คงทน (nondurable goods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น ต้องซื้อบ่อย ๆ
2. เกณฑ์ทางกายภาพ
    ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible goods) อาจจะเป็นสินค้าที่คงทนหรือไม่คงทนก็ได้
    ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible goods) ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ต้องการการควบคุมคุณภาพเป็นพิเศษ และต้องสร้างความเชื่อถือต่อกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
3. เกณฑ์ทางกายภาพ
   ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial goods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ซื้อเพื่อนำไปผลิตต่อ ประกอบด้วย (1) วัตถุดิบ (Materials) หมายถึง วัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบในกระบวนการผลิต
(2) สินค้าคงทน (Capitalism) เป็นสินค้าคงทน (3) อยู่ในส่วนของการผลิต เช่น ตัวอาคาร โรงงาน อุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น (4) อะไหล่และบริการเสริม (Supplied and services) เป็นวัสดุสำนักงานที่มีอายุการใช้งานสั้น และบริการ เพื่อให้การผลิตดำเนินต่อไปได้ เช่น การดูแลรักษา ซ่อมแซมอุปกรณ์ ฯลฯ
   ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (Consumer goods) ผู้ซื้อซื้อผลิตภัณฑ์ไปเพื่อบริโภค / ใช้เอง แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ (1) สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience goods) เป็นสินค้าที่ใช้บ่อย ราคาไม่แพง จึงไม่ต้องใช้ความพยายามมากในการซื้อ (2) สินค้าเลือกซื้อ (Shopping goods) เป็นสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการเลือกสรรก่อนซื้อ จึงมักเปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ ราคาและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อ (3) สินค้าเจาะจงซื้อ (Specialty goods) เป็นสินค้าเฉพาะอย่างที่ผู้บริโภคเจาะจงซื้อ เช่น ยี่ห้อนี้ คุณสมบัติอย่างนี้ เป็นต้น (4) สินค้าไม่อยากซื้อ (Unsought goods) เป็นสินค้าที่มีผู้บริโภคไม่รู้จัก และไม่คิดที่จะซื้อจนกระทั่งได้รู้จักและเห็นโฆษณา เช่น พจนานุกรม ประกันชีวิต      

ระดับผลิตภัณฑ์ Three levels of Product หมายถึง สิ่งที่นำเสนอแก่ตลาดเพื่อให้เกิดความสนใจ การซื้อ การใช้ หรือการบริโภคซึ่งสามารถตอบสนองความจำเป็นและความต้องการได้ ประกอบด้วย
1. ผลิตภัณฑ์หลัก Core customer value คือ ประโยชน์พื้นฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการซื้อสินค้านั้นโดยตรง
2. รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ Actual product คือ ลักษณะทางกายภาพที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้ สามารถสัมผัสได้ ซึ่งเป็นส่วนเสริมผลิตภัณฑ์ให้ทำหน้าที่สมบูรณ์ขึ้นหรือเชิญชวนให้ใช้ยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
      2.1 ระดับของคุณภาพ (quality level)
      2.2 รูปร่างลักษณะ (features)
      2.3 การออกแบบ (design)
      2.4 บรรจุภัณฑ์ (packaging)
      2.5 ชื่อตราสินค้า (brand name)
3. ผลิตภัณฑ์ควบ Augmented product คือ ผลประโยชน์เพิ่มเติม หรือบริการที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่ไปกับการซื้อสินค้านั้น ๆ ตัวอย่างเช่น
      4.1 การให้บริการติดตั้ง (installation)
      4.2 การขนส่ง (transportation)
      4.3 การรับประกัน (insurance)
      4.4 การให้สินเชื่อ (credit)

การออกแบบผลิตภัณฑ์ Product Design
     เมื่อนักออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงนักการตลาดได้สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้ว พวกเขาจะต้องกำหนดประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า หลังจากนั้นจึงออกแบบผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงขึ้นมา รวมทั้งต้องค้นหาวิธีเสนอผลิตภัณฑ์ควบด้วย เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ในที่สุด

การตัดสินใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ Product strategy decisions
1. การตัดสินใจในระดับตัวผลิตภัณฑ์ (Individual product decisions) โดยเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
    1.1 คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ (Product and service attributes) การพัฒนาสินค้าและบริการเกี่ยวข้องกับ การนำเสนอประโยชน์ขอตัวสินค้านั้นให้แก่ลูกค้า ประโยชน์เหล่านั้นจะถูกสื่อสารและส่งมอบไปสู่ลูกค้าโดยผ่าน 1) คุณภาพซึ่งเป็นเครื่องวัดความพึงพอใจของลูกค้าในเรื่องสินค้าที่ดีที่สุด เนื่องจากคุณภาพมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับคุณค่าและความพึงพอใจที่จะเกิดขึ้นในใจลูกค้า หากพิจารณาในมุมมองที่แคบที่สุด คุณภาพ คือ สินค้าที่ไม่มีข้อบกพร่องหรือไม่มีตำหนินั้นเอง 2) คุณลักษณะ สินค้าสามารถนำเสนอคุณลักษณะประโยชน์ใช้สอยของสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ โดยกำหนดให้มีลักษณะปรโยชน์ใช้สอยทั่วไป จึงถึงการทำงานที่สลับซับซ้อน คุณลักษณะประโยชน์ใช้สอยนี้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความแตกต่างระหว่างสินค้าของเรากับคู่แข่ง นับว่าเป็นเครื่องมือที่สร้างความสำเร็จได้ดียิ่ง 3) รูปแบบและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ธุรกิจสามารถสร้างคุณค้่าเพิ่มให้กับลูกค้าของตนได้ด้วย รูปแบบและการออกแบบสินค้า รูปแบบอาจเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจ ดึงดูดลูกค้า หากแต่ว่าว่ารูปแบบที่ดึงดูดนั้น ไม่ได้หมายความว่าสินค้านั้นจะมีการทำงานที่ดีขึ้นซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายของการออกแบบ การออกแบบจะมีความหมายที่กว้างกว่า คือ การออกแบบที่ดีจะให้ประโยชน์แก่ลูกค้า ทั้งในแง่ของปรโยชน์การใช้งานที่ดี รวมถึงรูปแบบที่สวยงามถูกใจไปพร้อม ๆ กัน
     1.2 ตราสินค้า (Branding) อาจจะกล่าวได้ว่าความแตกต่างระหว่างนักการตลาดธรรมดา กับนักการตลาดมืออาชีพ คือความสามารถในการสร้างสรรค์และจัดการเรื่องตราสินค้า ในมุมมองผู้ผลิตหรือผู้ขาย ตราสินค้า คือ ชื่อ สัญลักษณ์ การออกแบบ หรือองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นรวมกัน ในมุมมองของผู้บริโภค ตราสินค้า คือ คุณค่าที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ  ตราสิต้ากลายเป็นพลังที่เข้มแข็งสำหรับนักการตลาด สินค้าน้อยรายในปัจจับันที่จะไม่ให้ความสำคัญในตราสินค้า
     1.3 บรรจุภัณฑ์ (Packaging) แต่เดิมหีบห่อบรรจุภัณฑ์ใช้เพื่อปกป้อง หรือบรรจุผลิตภัณฑ์ หากแต่ในปัจจับนมีปัจจัยมากมายที่ผลักดันให้บรรจุภัณฑ์ทวีความสำคัญมากขึ้น จนกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญเช่นกัน การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งทั้งในด้านของจำนวนการแข่งขันที่รุนแรง อีกทั้งแรงผลักดันในเรื่องของขนาดและจำนวน หรือลักษณะของชั้นวางของในห้างสรรถสินค้า ล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดการพัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยงานขายมากขึ้น ตั้งแต่การกระตุ้นความสนใจจากลูกค้า การอธิบายสินค้า หรือการทั่งความสะดวกในการขาย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดีจะสรางความยุ่งยากแก่ผู้บริโภค และทำให้เสียโอกาสขายสินค้าแก่ผู้บริโภค ในทางตรงกันข้า การออกแบบที่จะจะทำให้เกิดประโยชน์เหนือคู่แข่งและเพิ่มปริมาณการขายได้ ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์เพียงเล็กน้อย ทำให้ยอดขายเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
     1.4 ฉลาก (Labeling) คือ การติดสาระเพื่อแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าที่ต้องการสื่อสารกับผู้ซื้อ เช่น เครื่องหมายการค้า รหัสแท่ง (Bar Code) ส่วนประกอบ วิธีใช้ ราคา ขนาดการใช้ ข้อห้าม เครื่องหมายรับรองคุณภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ
     1.5 บริการเสริมและบริการหลักการขาย (Product support services) บริการเสริมและบริการหลักการขายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ลูกค้ามักต้องการหลักซื้อสินค้า ดั้งนั้นบริษัททั่วไป จึงมักจะเสนอบริการบางประการผนวกไปกับสินค้าถึงแม้ว่าบริการเสริมเหล่านั้นจะเป็นบริการเสริมเล็กน้อย หรือบริการที่สำคัญก็ตาม

2. การตัดสินใจในระดับสายผลิตภัณฑ์ (Product line decisions) นอกเหนือจากการจัดการในผลิตภัณฑ์หรือบริการในแต่ละรายการแล้วยังมีสิ่งที่นักการตลาดต้องใส่ใจในเชิงกลยุทธ์อีกแง่มุมหนึ่งคือ กานสร้ายสายผลิตภัณฑ์ สายผลิตภัณฑ์หมายถึง กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวโยงในเรื่องของรูปแบบการใช้งาน การขายไปยังลูกค้ากลุ่มเดียวกัน หรือการขายไปในช่องทางการจำหน่ายเดียวกัน หรือแม้กระทั่งขายในระดับราคาใกล้เคียงกัน การตัดสินใจที่สำคัญในสายผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งคือ เรื่องความยาวของสายผลิตภัณฑ์ได้แก่ จำนวนรายการสินค้าที่อยู่ในสายผลิตภัณฑ์ หากผลิตภัณฑ์สั้นเกินไปธุรกิจสามารถหากำไรได้เพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มรายการสินค้าเข้าไปในสายผลิตภัณฑ์ ตรงกันข้ามสายผลิตภัณฑ์หากยายเกินไป ธุรกิจสามารถหากำไรได้เพิ่มขึ้น โดยลดรายการสินค้าบางรายการออกจากผลิตภัณฑ์ นักการตลาดจำเป็นต้องวิเคราะห์สายผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่ารายการสินค้าใดก่อให้เกิดผลในทิศทางใดต่อผลประกอบการโดยรวมของธุรกิจ

3. การตัดสินใจในระดับส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Prduct mix decisions) หมายถึง กลุ่มของผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้นที่บริษัทนาเสนอสู่ตลาดเพื่อขาย โดยมีจานวนของสายผลิตภัณฑ์ (product lines) หน่วยของผลิตภัณฑ์ (product items) และจานวนรุ่นในแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่บริษัทตัดสินใจเกี่ยวกับส่วนประสมผลิตภัณฑ์ดังนี้
     3.1 ความกว้างของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (product width) หมายถึง จานวนของสายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งมีไว้เพื่อขายให้แก่ผู้ซื้อ เช่น ผลิตภัณฑ์ของดัชมิลล์ มีผลิตภัณฑ์ไว้จาหน่ายสี่สายคือ โยเกิร์ต ทูโทน นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งพลาสเจอร์ไรส์ จึงเรียกว่าบริษัทนี้มีความกว้างของส่วนประสมผลิตภัณฑ์เท่ากับ 3
     3.2 ความลึกของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (product line depth) หมายถึง จานวนผลิตภัณฑ์ ที่มีอยู่ในสายผลิตภัณฑ์แต่ละสาย เช่น สี ขนาด รูปแบบหรือคุณสมบัติอื่น ๆ ตัวอย่าง สาบผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวของดัชมิลล์ มีรายการผลิตภัณฑ์อยู่ 3 รายการ นั่นคือ นมเปรี้ยวรสส้ม รสผลไม้รวม ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้มีความลึกเท่ากับ 3
     3.3 ความยาวของสายผลิตภัณฑ์ (product line length) หมายถึง จานวนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทที่มีเสนอขายให้กับลูกค้า เกิดจากการรวมตัวกันของความลึกของแต่ละสายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง ดัชมิลล์ มีผลิตภัณฑ์ไว้จาหน่าย 14 รายการ จึงเรียกว่าบริษัทนี้มีความยาวของส่วนประสมผลิตภัณฑ์เท่ากับ 14
     3.4 ความสอดคล้อง (product consistency) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสายผลิตภัณฑ์ในด้านการใช้ขั้นสุดท้าย การผลิต การจัดจาหน่าย หรือลักษณะของสินค้าด้าน อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ของดัชมิลล์จะมีความสอดคล้องเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ใกล้เคียวกัน มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน และใช้ช่องทางการจัดจาหน่ายเดียวกันนั่นเอง


















การบริการ (Service Marketing)

ผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งใด ๆ ที่นำเสนอสู่ตลาดเพื่อให้เกิดความสนใจ เพื่อให้จับจองเป็นเจ้าของ หรือเพื่อใช้บริโภคซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการหรือความจำเป็นได้ ผลิตภัณฑ์มิได้หมายรวมถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ผลิตภัณฑ์ยังรวมถึงการบริการ สถานที่ บุคคล องค์กร ความคิด

การแบ่งประเภทของสินค้า/บริการ
-แบ่งตามความทนทานหรือจับต้องได้ : ซื้อบ่อยๆ, นานๆซื้อครั้งนึง
-แบ่งตามการใช้งานของผู้บริโภคหรืออุตสาหกรรมการผลิต : สินค้าหรือบริการที่ใช้บ่อย, สินค้าเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต, สินค้าแบรนด์

รูปแบบการตัดสินใจในผลิตภัณฑ์มีดังนี้
Perceptual mapping : การหาความคิดของลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
Preference choice models : การหาตัวเลือกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ

กลยุทธ์ทางการตลาด (พี่เปิ้ล)

     กลยุทธ์การตลาด หมายถึง การสร้างและการกำหนดรูปแบบของเทคนิคต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาด้านราคา ( Price ) , ทั้งด้านที่ตั้ง ( Place ) , ทางด้านการส่งเสริมการขาย ( Promotion ) , และทางด้านการผลิตภัณฑ์ ( Product ) ทั้งนี้เพื่อทำให้ผลการดำเนินการขององค์การธุรกิจมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ตามเป้าหมายที่องค์การธุรกิจได้กำหนดไว้
กลยุทธ์การตลาด
     กลยุทธ์การตลาดขึ้นอยู่กับการกำหนดของตลาด และการวิเคราะห์โครงสร้าง
     กลยุทธ์การตลาดถูกกำหนดผ่านชุดของผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนในการใช้งานในส่วนที่เป็นประโยชน์ที่คล้ายกัน



IMS / MDSS ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  IMS / MDSS
แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. intervention วางแผนการดำเนินการ
2. Implementation เป็นขั้นตอนในการดำเนินการ
3. Impovement การปรับปรุงจะใช้เมื่อผลจากการตัดสินใจไม่ตรงตามเป้าหมายก็ต้องมีการปรับปรุง

ปัจจัยหลักในการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ
1. การสนับสนุนด้านการจัดการ
2. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้
3. การเดิมพันส่วนบุคคล
4. กลยุทธ์ด้านการจัดการ
5. ปัจจัยด้านรูปแบบในการดำเนินการ

กฎของการดำเนินการ
1. อย่าเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ไม่จำเป็น
2. ควรระมัดระวังความผิดพลาด
3. ไม่ควรที่จะอยู่กับที่ในการพัฒนาควรจะเดินไปข้างหน้า
4. อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ

     ในการดำเนินงานต้องมีเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ ผู้บริหารต้องใช้ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกเพื่อนำมาประกอบสนับสนุนการตัดสินใจนั่นก็คือ ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS)นั่นเอง เป็นตัวที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้การดำเนินงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ

ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ มีทั้งหมด 5 ข้อที่สำคัญ
1. Models
2. Optimization
3. Statistic
4. Data
5. Q / A

ขั้นตอนการสนับสนุนการตัดสินใจ (The retailing decision support system)
1. Input
2. Output
3. Evaluation

New Product Planning พี่จิ๊บ

โปรแกรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทีมงานจะต้องมีความชำนาญ
3. การวิจัยทางการตลาด
4. การวางแผนการขายและการพยากรณ์ยอดขาย

ชนิดของผลิตภัณฑ์ใหม่1. เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ
2. ยี่ห้อใหม่ๆ
3. รูปแบบแพคเกจใหม่ๆ
การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ถ้ามีการใช้วิธีการโฆษณาจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่จะทำให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วย